วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คู่มือการติดตั้งและการใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย

คู่มือการติดตั้งและการใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดน้ำเสีย เหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับ สำนักงาน บ้านพัก โรงเรียน และสถานบริการต่าง ๆ  เพื่อให้น้ำทิ้งนั้นได้มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่แผนกวิศวกรรม)

หลักการทำงานของ ถัง มีให้เลือก 2 แบบ คือ

1) แบบไม่เติมอากาศ (SEPTIC AND ANAEROBIC FILTER) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการแยกตะกอน (SEPTIC)  และขั้นตอนการกรองแบบไร้อากาศ(ANAEROBIC FILTER) ซึ่งอาศัยกระบวนการย่อยสลายแบบ
ธรรมชาติบำบัด คือ ใช้แบคทีเรียชนิดไร้อากาศ(ANAEROBIC BACTERIA) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และพลังงานไฟฟ้า

2)แบบเติมอากาศ(AERATION) ทำให้ถังมีประสิทธิภาพในการบำบัดได้สูงสุด โดยการใช้เครื่องเติมอากาศซึ่งออกซิเจนที่ได้จากเครื่องเติมอากาศ จะทำให้จุลินทรีย์ชนิดใช้อากาศ (AEROBIC BACTERIA) สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์นถังบำบัดได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้น้ำที่บำบัดออกมาได้ค่ามาตราฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด


ตำแหน่งที่จะทำการติดตั้งถัง

โดยทั่วไปตำแหน่งของถังจะถูกออกแบบไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วในการออกแบบอาคาร
หากยังไม่มีการออกแบบไว้ก่อน หรือต้องการติดตั้งถัง เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ ให้พิจารณา
ดังต่อไปนี้
1)ควรติดตั้งภายนอกตัวอาคาร เพราะสามารถทำการติดตั้ง และดูแลรักษาได้ง่าย
2)ควรติดตั้งใกล้ห้องส้วม และท่อระบายน้ำสาธารณะเพื่อลดปัญหาการอุดตันในท่อ
3)หากติดตั้งในอาคารให้แยกโครงสร้างฐานรากของถังบำบัดออกจากฐานรากของอาคาร
4)ท่อเข้าออกสั่งได้มาตรฐานโรงงานและสั่งพิเศษ(ติดต่อฝ่ายขาย)

วิธีการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียใต้ดิน

  มีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้

   ขุดหลุมขนาด กว้างXยาวXสูง ให้เหมาะสมกับขนาดถังฐานรากและระดับท่อเข้า-ออก
             
1.  (ดูแคตตาล็อคและตารางแต่ละรุ่น)อาจใช้เสาเข็มตามวิศวกรระบุ แล้วรองพื้นด้วยทรายและเทคอนกรีตเสริมเหล็กหรืออาจใช้ เพียงคอนกรีตหยาบ 1:3:5 หากสภาพดินรับแรงดี

2.  ยกถังวางลงในหลุม จัดระดับถังให้เหมาะสม ท่อเข้า-ออก จะต้องไม่กดลึกกว่าระดับพื้นดินเกินกว่า
0.50 ม.หากฝังถังลึกเกินไปถังจะเสียหายจากน้ำหนักดินที่กดทับได้ ใช้ลวดสลิงดึงรัดรอบถัง กันถัง
พลิกและถังลอยแล้วเติมน้ำให้เต็มถังแล้วจึงกลบด้วยทรายหยาบอัดแน่นรอบถังทุกชั้น ๆ ละ 50 ซม.
จากฐานรากถึงผิวพื้นด้านบนจนประกอบท่อเข้า-ออก ด้วยข้อต่ออ่อนและท่ออากาศให้
สูงเลยชั้นหลังคา,ดาดฟ้า

                3. ทำแนวกั้นชั่วคราวเป็นแนวเขตป้องกัน และทำป้ายระวังถังบำบัด โดยรอบถัง เพื่อป้องกันรถบด, หรือเครื่องจักรหนักเข้ามาเหยียบถังโดยรอบขอบถังอย่างน้อย 1.50 ม. ตลอดช่วงระยะเวลาก่อสร้าง

4. เทพื้น ค.ส.ล. ขนาดไม่เกิน 80X80X10 ซม.และฝังแหวนรองฝา ทิ้งไว้ให้ปูนแห้งแล้วจึงวางฝาปิด
เติมหัวเชื้อ เป็นเสร็จขั้นตอน

หมายเหตุให้ดูข้อควรระวังในการติดตั้งถัง

ข้อควรระวังในการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

1. ถังบำบัดน้ำเสียจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธีและปฎิบัติตามคำแนะนำ
จากบริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด
2. ระดับของท่อน้ำเสียที่เข้า และท่อน้ำเสียที่ออกจาก ถัง ควรอยู่สูงกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ
3. การฝังท่อร้อย(Sleeve) ที่คานชั้นล่าง จะช่วยทำให้ระดับถังที่ติดตั้งไม่ลึกมากเกินไปและทำให้การระบายน้ำ
สะดวกขึ้น
4. ความลาดเอียงของท่อที่เข้า และท่อที่ออกจากถัง ไม่น้อยกว่า 1:100 หรือมีความสูงต่างกัน 1 เซนติเมตร
ต่อความยาว 1 เมตร หากท่อน้ำเสียยาวมาก(เกิน 4 เมตร)ให้เพิ่มช่องล้างท่อ(FCO) ที่ต้นท่อ หรือใช้บ่อพักทุกระยะ
8 เมตร
5. การยกถังบำบัด ให้ยกโดยใช้ลวดสลิงรองรับถัง โดยใช้รถยกที่ออกแบบไว้รับน้ำหนัก
โดยเฉพาะห้ามยกที่ท่อเข้า-ออกซึ่งอาจทำให้ท่อหักได้
6. ห้ามติดตั้งถังในระดับท่อเข้าถึงพื้นผิวดินความลึกเกินกว่า 50 ซม.
ไม่ควร ก่ออิฐฉาบปูนเป็นคอถถังเพราะมีน้ำหนักกดทับถังมาก กรณีมีความจำเป้นต้องติดตั้งลึกเกินกว่าที่กำหนด

7. ให้ใช้ทรายหยาบอัดแน่นด้วยคนและเครื่องตบอัดทรายรอบ ๆ ถังตั้งแต่ฐานรากจนถึงผิวดินชั้นบนสุด
(เติมน้ำให้เต็มถังและบดอัดทรายพรมน้ำสลับกันทุกระยะความสูง 50 ซม.จนเต็มถังพื้นผิวดินชั้นบน)
8. บริเวณที่ติดตั้งถังต้องทำแนวรั้วชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้มีรถยนต์,รถบรรทุก หรือวัสดุหนักเข้าไปเหยียบหรือ
กดทับบริเวณใกล้เคียงโดยเด็ดขาด ยกเว้นทีการทำโครงสร้างช่วยรับน้ำหนักไว้แล้ว
9. การต่อท่อระบายอากาศ(V2) ให้สูงเหนือชั้นหลังคาแยกต่างหากออกจากท่อระบายอากาศ(V1) ของอากาศ
จะช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. หากท่านมีข้อส่งสัยในการติดตั้งโปรดโทรแจ้งฝ่ายวิศวกรรมและบริการ บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด
ได้ตลอดเวลาทำการ

การดูแลรักษาหลังจากติดตั้งแล้วและเริ่มใช้งาน

1.กำจัดตะกอน โดยการจ้างรถบริการดูดส้วม อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งทั้งช่องแยกตะกอน และช่องกรอง หรือ
  ช่องเติมอากาศ เพื่อให้ประสิทธิภาพการบำบัดดีขึ้น
2.ดูดตะกอนที่ก้นถังออกในปริมาณไม่เกิน 1/3 ของปริมาตรถัง(หากสูบมากเกินกำหนดถังอาจเสียหายได้)
   กรณีถังเติมอากาศ ให้สลับกันดูดจากช่องแยกตะกอน และช่องกรองเพื่อรักษาระดับน้ำ ระหว่าง
   ช่องยุบลงให้เท่า ๆ กัน ทำให้ถังบำบัดมีอายุการใช้งานยาวนาน
3.ให้เติมน้ำเต็มถังทันที(สังเกตท่อน้ำล้นจะไหลออกลงบ่อพัก)แล้วจึงปิดฝาถังให้เรียบร้อย
4.กรณีถังเติมอากาศ ให้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องเติมอากาศและเครื่องสูบตะกอนว่าทำงานตามกำหนด
   หรือไม่(หากมีเสียงดังผิดปรกติ ลมไม่ออกหรือสูบน้ำไม่ขึ้นให้แจ้งฝ่ายบริการ)
5.ห้ามทิ้งเศษขยะ หรือ ของที่ไม่ย่อยสลายลงในถังบำบัดน้ำเสีย
6.การทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้งควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ควรล้างบ่อยและอย่า
   ใช้น้ำยา ฆ่าเชื้อโรคชนิดรุนแรงไหลลง เพราะจะทำให้ถังทำงานได้อย่างไม่มี
    ประสิทธิภาพ
7.กรณีถังดักไขมัน  ให้ถอดตะกร้าเทขยะ และล้างตะกร้าทุกวัน หรือเมื่อขยะเต็มหรืออุดตัน
   (ซึ่งอาจทำให้ถังบำบัดเสียหายได้ภายหลัง)
8.บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด มีการบริการเสริมหลังการขาย โปรดติดต่อฝ่ายบริการโดยตรง
9.ควรสูบตะกอนไปกำจัดปีละ 1-2 ครั้ง โดยสูบประมาณ ? ของถังแล้วเติมน้ำ หลังจากนั้นให้ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังบำบัดเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์แทนของเก่าที่สูบออกไปให้การบำบัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หรือท่านสามารถเยี่ยมชมเว็บไซท์เราได้ที่ www.ถังบำบัดน้ำ.com หรือ http://purewatertank.wordpress.com










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น