วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

จำหน่ายถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ ถังดักไขมัน และจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียราคาถูก

ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ติดตั้ง ระบบถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำ

บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด ออกแบบ ติดตั้ง ให้คำปรึกษาและจำหน่ายระบบบำบัดน้ำเสียและเก็บน้ำ ด้วยทีมงานวิศวกรด้านสิ่งแวดล้อมผู้มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ท่านจึงมั่นใจได้ในประสบการณ์การทำงานกว่า 10 ปีของทีมงานเรา

ถังบำบัดน้ำเสีย หรือ ถังแซท PURE

เราผลิตและจำหน่ายถังบำบัดน้ำเสียภายใต้แบรนด์ PURE ซึ่งสามารถแบ่งวัสดุที่ผลิตได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ 

1. ถังบำบัดน้ำเสีย PE ( ผลิตจากวัสดุ POLYETHYLENE ) 

เป็นถังบำบัดน้ำเสีย (ถังแซท) ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทธิลีน ซึ่งมีความยืดหยุ่น และทนทานพอสมควร ส่วนใหญ่ภายนอกจะเป็นสีดำ สำหรับภายในตัวถังบำบัดจะแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ ชั้นที่ 1 จะเป็นช่องเกรอะเอาไว้กรองตะกอนขนาดใหญ่ และชั้นที่ 2 เป็นส่วนของช่องกรองที่ทำหน้าที่คอยกรองตะกอนขนาดเล็กอีกชั้นหนึ่ง ก่อนน้ำเสียที่บำบัดจากในถังจะไหลไปสู่บ่อพักอีกที

ส่วนใหญ่ถังบำบัดน้ำเสีย PE นั้นจะมีขนาดตั้งแต่ 600 ลิตร,1000 ลิตร,1200 ลิตร,2000 ลิตร,3000 ลิตร,4000 ลิตร,5000 ลิตรและ6000 ลิตร

นอกจากนี้ถังบำบัดน้ำเสีย PE ยังจะสามารถแยกย่อยออกได้อีก 2 แบบคือ

1.1 ถังบำบัดน้ำเสีย PE แบบไม่เติมอากาศหรือไร้อากาศ ( ANAEROBIC TANK )

ถังบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศจะมีลักษณะเหมือนกับที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว ซึ่งถังบำบัดน้ำเสียประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้ตามที่พักอาศัยทั่วๆไป เช่น บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ เนื่องจากถังบำบัดแบบนี้จะมีราคาถูก และติดตั้งไม่ยุ่งยาก 

1.2 ถังบำบัดน้ำเสีย PE แบบเติมอากาศ ( ANAEROBIC TANK )

เป็นถังบำบัดน้ำเสียที่จะมีท่อเติมอากาศเพิ่มขึ้นมาสำหรับต่อกับท่อลมที่ออกมาจากเครื่องเติมอากาศหรือปั๊มเติมอากาศนั่นเอง ถังบำบัดแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น คอนโด อพาร์ทเม้นท์ โรงแรม โรงงาน สถานศึกษา อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เป็นต้น เนื่องจากอาคารเหล่านี้จะต้องทำการบำบัดน้ำเสียที่ปล่อยออกมาให้มีค่า BOD ไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร ตามข้อบังคับของสิ่งแวดล้อมที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดเอาไว้

ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศนี้จะมีราคาสูงกว่าทั้งด้วยการเพิ่มท่อเติมอากาศของตัวถัง และเครื่องเติมอากาศหรือปั๊มเติมอากาศ อีกทั้งยังจะต้องมีการเดินสายไฟและทำปลั๊ก รวมถึงตู้คอนโทรล (สำหรับถังบำบัดขนาดใหญ่อย่างน้อย 10000 ลิตร หรือ 10 ลบ.ม. หรือ 10 คิว ขึ้นไป ) จึงทำให้ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศเหมาะสำหรับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม คอนโดมิเนียม โรงงาน

รูปถังบำบัดน้ำเสีย PE แบบเติมอากาศและไร้อากาศ PURE

2. ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ( FRP )

เป็นถังบำบัดน้ำเสีย หรือถังแซทที่ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส ยังแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภทคือ 

2.1 ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสทรงกลม PURE 

ระบบการทำงานภายในตัวถังจะเหมือนกันกับถังบำบัดน้ำเสีย PE ทุกอย่าง แต่ต่างกันแค่วัสดุที่ใช้ในการผลิตตัวถังเท่านั้น ซึ่งการใช้งานนั้นจะขึ้นอยู่กับทางหน้างานและผู้ออกแบบ ว่าต้องการจะใช้ถังบำบัดแบบไหน แต่ถังไฟเบอร์กลาสจะราคาสูงกว่าถังบำบัดที่ผลิตจาก PE และยังต้องใช้ระยะเวลาในการผลิตนานกว่าถัง PE อีกด้วย
รูปถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสเกรอะกรองรวมแบบเติมอากาศทรงกลม PURE


2.2 ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล PURE

เป็นถังบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ทรงแคปซูล ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส สำหรับถังบำบัดทรงแคปซูลจะมีขนาดความจุใหญ่กว่าถังบำบัดน้ำเสีย PE ( ส่วนใหญ่ถังบำบัด PE ทรงกลมนั้นจะมีขนาดใหญ่สุดที่ 6000 ลิตร ) แต่ส่วนใหญ่ถังบำบัดไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลที่นิยมใช้กันนั้นจะมีขนาดมาตราฐานตั้งแต่ 10000 ลิตร,15000 ลิตร,20000 ลิตร,25000 ลิตร,30000 ลิตร,35000 ลิตร,40000 ลิตร,45000 ลิตร,50000 ลิตร,55000 ลิตรและ60000 ลิตร

นอกจากนี้เรายังสามารถสั่งผลิตตัวถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสแคปซูลพวกนี้ได้ตามความต้องการของหน้างานอีกด้วย เช่น ในกรณีที่หน้างานมีพื้นที่ในการติดตั้งถังจำกัด ทำให้เราต้องกำหนดขนาดของความกว้าง และยาวของตัวถังแคปซูลให้เหมาะสมในการติดตั้ง เช่น ถังขนาด 3000 ลิตร,4000 ลิตร,5000 ลิตร,6000 ลิตร,7000 ลิตร,8000 ลิตร,9000 ลิตร   

และยังสามารถผลิตตัวถังไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลให้มีขนาดเกินกว่า 60000 ลิตร ได้ เช่น ถังขนาด 70000 จนถึง 100000 ลิตร

กระบวนการทำงานของถังบำบัดน้ำเสียทรงแคปซูลก็จะคล้ายๆกับถังบำบัด PE ทรงกลม แต่ต่างกันที่ภายในตัวถังแคปซูลจะแบ่งเป็น 3 ช่องคือ ช่องแรกสำหรับกรองตะกอนขนาดใหญ่ พอตะกอนขนาดเล็กไหลมาสู่ช่องถัดมาก็คือ ช่องที่สอง ก็จะทำหน้าที่ในการกรองตะกอนขนาดเล็กอีกชั้นหนึ่ง 

โดยภายในช่องจะมีตัวมีเดีย ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่เกาะอาศัยของตัวจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย และในช่องที่สองนี้เอง ถ้าหากว่าถังบำบัดน้ำเสียของเราเป็นแบบเติมอากาศ ก็จะมีท่อเพิ่มสำหรับนำอากาศจากปั๊มหรือเครื่องเติมอากาศมาจ่ายเข้าไป เพื่อทำให้กระบวนการบำบัดน้ำเสียของจุลินทรีย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

หลังจากนั้นเมื่อผ่านการบำบัดจากช่องที่สองมายังช่องที่สาม ช่องนี้ก็จะทำหน้าที่ในการเก็บกักตะกอนและยังสามารถที่จะดูดย้อนกลับไปเพื่อทำให้การบำบัดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
รูปถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลแบบเติมอากาศและไร้อากาศ PURE 1




  
                                รูปถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลแบบเติมอากาศและไร้อากาศ PURE 2



ถังเก็บน้ำ PURE

นอกจากทางบริษัทฯ จัดจำหน่ายถังบำบัดน้ำเสียแล้ว เรายังมีถังเก็บน้ำจำหน่ายด้วย โดยถังเก็บน้ำของเราทุกใบผลิตจากวัสดุที่ได้รับการรับรองมาตราฐานสินค้าอุตสาหกรรม ( มอก. ) และมีการรับประกันตัวสินค้าหรืออายุการใช้งานจริงของตัวสินค้า รวมถึงการบริการให้คำแนะนำอย่างถูกต้องในการเลือกใช้ถังเก็บน้ำให้เหมาะสมกับที่อยู่อาศัย อาคาร คอนโด สำนักงานต่างๆ 

ประเภทของถังเก็บน้ำแบ่งตามลักษณะการใช้งานหรือการติดตั้ง

1. ถังเก็บน้ำบนดิน PURE 

ถังเก็บน้ำบนดินหรือตั้งพื้นนี้ ยังสามารถแยกย่อยตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 


เป็นถังเก็บน้ำที่ผลิตจากวัสดุโพลีเอทธิลีน มีการรับรองมาตราฐานสินค้าอุสาหกรรม ( มอก. 816-2538 )
ซึ่งถังเก็บน้ำบนดินนี้จะมีอยู่ 2 แบบคือ 

1.1.1 ) ถังเก็บน้ำบนดินธรรมดาสีฟ้า PURE 

ซึ่งเป็นรุ่นธรรมดาไม่สามารถกันรังสี UV ซึ่งทำให้เกิดตะไคร่น้ำได้ 
แต่เราสามารถป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำได้โดยติดตั้งถังน้ำไว้ในที่ร่ม หรือสร้างหลังคากันแดด กันฝนให้ ก็จะยิ่งยืดอายุการใช้งานของตัวถังได้อีกหลายปี ตัวถังเก็บน้ำมีความปลอดภัย สามารถใช้บรรจุน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคได้ 

ถังเก็บน้ำบนดินธรรมดาสีฟ้า PURE ที่เราจำหน่ายจะมีหลายขนาดดังนี้
500ลิตร,1000ลิตร,1500ลิตร,2000ลิตร,3000ลิตร,4000ลิตร,5000ลิตรและ6000ลิตร

รูปถังเก็บน้ำบนดินสีฟ้า PURE


1.1.2 ) ถังเก็บน้ำบนดินลายแกรนิต PURE

สำหรับถังเก็บน้ำรุ่นนี้ผลิตจากวัสดุ PE หรือ โพลีเอทธิลีนเหมือนกัน แต่ถูกออกแบบมาให้มีความสวยงามมากกว่าและดูน่าใช้กว่าถังเก็บน้ำสีฟ้าธรรมดา ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ชอบแต่งบ้านและสวน เนื่องจากถังเก็บน้ำลายแกรนิตนี้มีหลายสีให้เลือกใช้ เช่น สีทราย สีเทา สีเขียว สีแดง เป็นต้น  นอกจากนี้คุณสมบัติเด่นอีกอย่างคือ สามารถป้องกันการเกิดการตะไคร่น้ำได้ เพราะตัวถังสามารถป้องกันรังสี UV ได้นั่นเอง

ถังเก็บน้ำบนดินลายแกรนิต PURE ที่เราจำหน่ายจะมีหลายขนาดดังนี้

500ลิตร,1000ลิตร,1500ลิตร,2000ลิตร,3000ลิตร,4000ลิตร,5000ลิตรและ6000ลิตร



ถังเก็บน้ำ,ถังเก็บน้ำ PE,ถังเก็บน้ำบนดินราคาถูก
 รูปถังเก็บน้ำบนดินลายแกรนิตสีต่างๆ



1.2 ) ถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาสทรงถ้วย PURE

ถังเก็บน้ำประเภทนี้ตัวถังจะผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส ( มาตราฐาน มอก. 435-2548 ) มีลักษณะคล้ายถ้วย มีความคงทนแข็งแรง ปลอดภัยในการบรรจุน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค 

ถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาส PURE ที่จำหน่ายมีขนาดต่างๆดังนี้

1000ลิตร,1500ลิตร,2000ลิตร,2500ลิตร,3000ลิตร,4000ลิตร,5000ลิตร,6000ลิตรและ7500ลิตร 




     รูปถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาส PURE ทรงถ้วย


1.3 ) ถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล PURE

เป็นถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสซึ่งจะมีขนาดใหญ่แนวนอน รูปทรงจะคล้ายแคปซูล ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับที่พักอาศัยขนาดใหญ่ โรงงานขนาดใหญ่ หรือออฟฟิศ สำนักงานที่มีจำนวนคนมาก 

ถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลส่วนใหญ่จะผลิตตามสั่ง ( Made to order ) โดยจะไม่มีการสต็อคของเอาไว้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และใช้ระยะเวลาในการผลิตค่อนข้างนานประมาณ 15 - 20 วัน ( ขึ้นอยู่กับจำนวนคิวของการผลิต ถ้ามีลูกค้าหลายเจ้าอาจจะนานหน่อย ) ซึ่งถังพวกนี้สามารถสั่งผลิตให้ตรงตามความต้องการของหน้างานได้ ( ในกรณีที่พื้นที่หน้างานที่จะทำการติดตั้งมีปัญหาเรื่องความกว้าง ลึก ยาว ) 

ขนาดของถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลจะมีขนาดต่างๆดังนี้
4000ลิตร,5000ลิตร,6000ลิตร,7000ลิตร,8000ลิตร,9000ลิตร,10000ลิตร,15000ลิตร,20000ลิตร,25000ลิตร
30000ลิตร,35000ลิตร,40000ลิตร,45000ลิตร,50000ลิตร,55000ลิตร,60000ลิตรและ70000ลิตร



รูปถังเก็บน้ำบนดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล PURE


2.ถังเก็บน้ำฝังใต้ดิน PURE

ในกรณีที่หน้างานไม่สะดวกที่จะวางหรือติดตั้งถังเก็บน้ำด้านบน หรือต้องการพื้นที่ใช้สอยด้านบน เราจึงต้องมาทำการติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินแทน ซึ่งวิธีการติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินนั้นก็จะคล้ายกับถังบำบัดน้ำเสีย 
ถังเก็บน้ำใต้ดินนั้นก็จะแบ่งย่อยได้ตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตตัวถัง เหมือนกับถังเก็บน้ำบนดินดังนี้

2.1 ถังเก็บน้ำใต้ดิน PE ( POLYETHYLENE ) 

เป็นถังเก็บน้ำที่ผลิตจากวัสดุ PE หรือ โพลีเอทธิลีน ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง มีความแข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่นได้ดี สามารถรับแรงดันจากใต้ดินได้ ปลอดภัยต่อการอุปโภคและบริโภค ผลิตจากวัสดุที่ได้รับมาตราฐาน มอก.816-2538  

ถังเก็บน้ำใต้ดิน PE มีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมดังนี้
600ลิตร,800ลิตร,1000ลิตร,1200ลิตร,1600ลิตร,2000ลิตร,3000ลิตร,4000ลิตร,5000ลิตรและ6000ลิตร


  รูปถังเก็บน้ำใต้ดิน PE 


2.2 ถังเก็บน้ำใต้ดินไฟเบอร์กลาสทรงกลม PURE

เป็นถังเก็บน้ำทรงกลมเหมือนกับ ถังเก็บน้ำใต้ดิน PE ต่างกันตรงที่ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส มาตราฐานมอก. 435-2548 มีความคงทนแข็งแรง สามารถทนต่อแรงบีบอัด แรงดันใต้ดิน ปลอดภัยต่อการบรรจุน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 

ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสใต้ดินทรงกลม PURE จะมีขนาดต่างๆดังนี้
1000ลิตร,1500ลิตร,2000ลิตร,2500ลิตร,3000ลิตร,4000ลิตร,5000ลิตร,6000ลิตรและ7500ลิตร


รูปถังเก็บน้ำใต้ดินไฟเบอร์กลาส PURE ทรงกลม



2.3 ถังเก็บน้ำใต้ดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล PURE

เมื่อจำนวนคนที่อยู่อาศัยมีจำนวนมาก ถังเก็บน้ำทรงกลมอาจจะไม่เพียงพอต่อการสำรองน้ำ ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนมาใช้เป็นถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลซึ่งจะสามารถเก็บสำรองน้ำได้มากกว่าถังเก็บน้ำทรงกลมหลายเท่าทีเดียว และผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส มาตราฐานมอก. 435-2548 ส่วนใหญ่ถังเก็บน้ำทรงแคปซูลนี้จะใช้กับอาคาร สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงงาน และอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ เป็นต้น 

เรามีถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูลจำหน่ายในขนาดต่างๆดังนี้ 
เริ่มตั้งแต่ 4000ลิตร,5000ลิตร,6000ลิตร7000ลิตร,8000ลิตร,9000ลิตร,10000ลิตร,15000ลิตร,20000ลิตร,25000ลิตร,30000ลิตร,
35000ลิตร,40000ลิตร,45000ลิตร,50000ลิตร,55000ลิตร,60000ลิตรและ70000ลิตร



 รูปถังเก็บน้ำใต้ดินไฟเบอร์กลาส PURE
                                                                   


3.ถังดักไขมัน PURE

หน้าที่ของถังดักไขมันคือทำหน้าที่กรองเศษอาหาร ขยะ หรือของเสียต่างๆ นอกจากนี้ถังดักไขมันยังสามารถลดกลิ่นที่เกิดจากการหมักหมมของเศษอาหาร รวมถึงยังช่วยไม่ให้ท่อน้ำอุดตันอีกด้วย ซึ่งลักษณะของการติดตั้งและการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของหน้างาน จำนวนคนพักอาศัย ลักษณะของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น

ถังดักไขมันจะแบ่งประเภทของถังตามวัสดุการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทหลักๆคือ ผลิตจากวัสดุที่เป็นโพลีเอทธิลีน ( PE ) และไฟเบอร์กลาส ( FRP ) คล้ายๆกับตัวถังบำบัดน้ำเสียและถังเก็บน้ำ

3.1 ถังดักไขมันใต้ซิงค์ PE ( POLYETHYLENE ) ทรงสี่เหลี่ยม

ถังดักไขมันประเภทนี้ส่วนใหญ่จะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตัวถังจะมีสีดำ โดยภายในจะมีตะแกรง ทำหน้าที่กรองเศษอาหารและขยะ โดยจะติดตั้งที่ใต้ซิงค์ล้างจาน 

สำหรับถังดักไขมัน PE ของ PURE จะมีแค่ 2 ขนาดคือ 30 ลิตร และ 60 ลิตร

                                       
  รูปถังดักไขมัน PE ทรงสี่เหลี่ยมภายนอก


                      
                         รูปด้านในของถังดักไขมันใต้ซิงค์จะเห็นว่ามีตะแกรงที่คอยกรองเศษอาหารอยู่
                                                                                     


3.2 ถังดักไขมันใต้ซิงค์ไฟเบอร์กลาสทรงสี่เหลี่ยม ( FRP )

เป็นถังดักไขมันที่ผลิตจากวัสดุไฟเบอร์กลาส ซึงจะมีรูปร่างเหมือนกับถังดักไขมัน PE จะต่างกันก็เรื่องของวัสดุที่ใช้ในการผลิต กับเรื่องความแข็งแรง เนื่องจากถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสจะมีความแข็งแรงมากกว่าถังดักไขมัน PE จึงทำให้ถังดักไขมันใต้ซิงค์ไฟเบอร์กลาสมีราคาแพงกว่า รวมถึงมีขนาดความจุใหญ่กว่าถังดักไขมัน PE อีกด้วย 

ขนาดของถังดักไขมันใต้ซิงค์ไฟเบอร์กลาสทรงสี่เหลี่ยมของ PURE มีดังนี้
30 ลิตร,60 ลิตร,130 ลิตร และ 300 ลิตร


                                                     รูปถังดักไขมันใต้ซิงค์ไฟเบอร์กลาสทรงสี่เหลี่ยม


3.3 ถังดักไขมัน PE ( POLYETHYLENE ) ทรงกลม

เป็นถังดักไขมันที่มีรูปร่างเหมือนกับถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทนั่นเอง ภายในก็จะมีแผ่นกั้นทำหน้าที่ กรองเศษอาหาร หรือ ขยะ ก่อนที่น้ำจะไหลไปสู่กระบวนการบำบัดในขั้นต่อไป 

ถังดักไขมัน PE ของ PURE ที่เราจำหน่ายจะมีขนาดถังดังต่อไปนี้
600 ลิตร,1000 ลิตร,1200 ลิตร,2000 ลิตร,3000 ลิตร,4000 ลิตร,5000 ลิตรและ6000 ลิตร


รูปถังดักไขมัน PE ทรงกลม จะมีลักษณะเหมือนกับถังบำบัดน้ำเสีย


3.4 ถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสทรงกลม

สำหรับรูปร่างหน้าตาของถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสทรงกลม ก็จะเหมือนกับตัวถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสนั่นเอง หลักการทำงานก็จะเหมือนกับถังดักไขมัน PE คือ มีแผ่นกั้นภายในที่คอย คัด กรอง เศษอาหารหรือขยะขนาดใหญ่ ไม่ให้ผ่านไปยังกระบวนการต่อไปได้ ทำให้ระบบบำบัดมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งยังป้องกันการอุดตันของท่อน้ำด้วย 

ถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสทรงกลม PURE ที่ทางบริษัทฯ มีจำหน่ายหลายขนาดดังนี้
1000 ลิตร,1500 ลิตร,2000 ลิตร,2500 ลิตร,3000 ลิตร,4000 ลิตร,5000 ลิตร,6000 ลิตรและ 7500 ลิตร

3.5 ถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล

เมื่อขนาดของสิ่งปลูกสร้างใหญ่ขึ้น นั่นก็หมายถึงขนาดของผู้อยู่อาศัยย่อมเพิ่มขึ้นตามมา และเมื่อมีคนมาอยู่มากขึ้นแน่นอนว่า ขยะ หรือของเสียต่างๆจากการกินอยู่ก็ต้องมีมากขึ้น ดังนั้นขนาดของถังดักไขมันที่เป็นทรงกลมจึงไม่สามารถที่จะรองรับ ขยะ เศษอาหาร หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆได้ เราจึงได้มีตัวถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสขนาดใหญ่ที่เป็นทรงแคปซูลมารองรับ ซึ่งหลักการทำงานก็จะคล้ายกับถังดักไขมันแบบทรงกลม เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

ถังดักไขมันไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล PURE จะมีขนาดต่างๆดังนี้
4000ลิตร,5000ลิตร,6000ลิตร7000ลิตร,8000ลิตร,9000ลิตร,10000ลิตร,15000ลิตร,20000ลิตร,25000ลิตร,30000ลิตร,
35000ลิตร,40000ลิตร,45000ลิตร,50000ลิตร,55000ลิตร,60000ลิตรและ70000ลิตร


รูปถังดักไขมันใต้ดินไฟเบอร์กลาสทรงแคปซูล


4. หัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย PURE


หัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจะเป็นสิ่งที่แถมมาให้เวลาเราซื้อถังบำบัดน้ำเสียหรือถังแซทมา หน้าที่ของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียก็คือ ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆซึ่งเป็นของเสีย ที่อยู่ภายในถังบำบัดนั่นเอง ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะแบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ๆคือ 1) จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ( AEROBIC BACTERIA ) และ 2) จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้อากาศในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ( ANAEROBIC BACTERIA ) 


ประโยชน์ของจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเหล่านี้คือ ช่วยให้ของเสีย สิ่งปฏิกูลต่างในถังบำบัดน้ำเสียที่เป็นสารอินทรีย์ มีการย่อยสลายได้ดีขึ้น ทำให้ระบบการบำบัดน้ำเสียนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยในการลดกลิ่นอันไม่พึ่งประสงค์ที่อาจจะออกมาตามท่อระบายน้ำได้ ที่สำคัญคือช่วยลดค่า BOD ในน้ำเสีย ทำให้น้ำทิ้งที่ปล่อยออกมาอยู่ในค่ามาตราฐาน ที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดด้วย


รูปถุงหัวเชื้อจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย PURE


คลิปวีดีโอบางส่วนของถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำ และถังดักไขมัน ของ PURE 


1. คลิปถังวีดีโอถังบำบัดน้ำเสียทรงกลม PE



2. คลิปวีดีโอถังเก็บน้ำบนดินสีฟ้าและถังเก็บน้ำลายแกรนิต







3. คลิปวีดีโอถังเก็บน้ำฝังใต้ดิน PE




4. คลิปวีดีโอถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสบนดินและถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสฝังใต้ดิน







5. คลิปวีดีโอถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาสแบบเติมอากาศ





6. คลิปวีดีโอถังดักไขมันไฟเบอร์กลาส





หากท่านสนใจหรืออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอราคาถังบำบัดน้ำเสีย ถังเก็บน้ำราคา และถังดักไขมันราคาพิเศษ 

ได้ที่สายด่วนเบอร์ M. 081-267-9634 ,  M. 089-440-5311 

สำนักงาน T.02-503-0482 , F.02-503-1636  ได้ตลอดเวลาครับ

หรือส่งข้อมูลขอราคามาที่  E-mail : ppc_pure@hotmail.co.th

หรือท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของสินค้าได้ที่เว็บไซท์  


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การทำงานของถังดักไขมันชนิดติดใต้ซิงค์และถังดักไขมันฝังใต้ดิน

น้ำเสียที่เป็นไขมัน และเศษอาหาร หลังจากกระบวนการทำความสะอาดภายในซิงค์ล้างจานจะผ่านลงมาสู่ท่อที่ต่อไว้ใต้ซิงค์ให้รับกับตัวถังดักไขมัน
ขั้นตอนแรก ของการทำงานถังดักไขมันเริ่มจาก ตะแกรงดักเศษอาหารที่ติดอยู่ภายในถังช่องแรกจะเป็นตัวกรองและคัดแยกเศษอาหารจากคราบไขมันออก จากนั้น
ขั้นตอนที่สอง น้ำเสียจากที่เป็นส่วนไขมันจะเข้ามาอยู่ในช่องแรกและช่องดังกล่าวจะทำการคัดแยกตะกอนหนักที่เป็นเศษอาหารให้อยู่ก้นถังของช่องแรก แล้วไขมันจะแยกตัวออกจากน้ำเสียโดยลอยตัวบนผิวน้ำ
ขั้นตอนที่สาม น้ำค่อยไหลมาเข้าสู่ช่องกรองที่สองของกระบวนการคัดแยกและตกตะกอนอีกครั้งแล้วจึงไหลสู่บ่อพัก ระบายไปยังบ่อของแหล่งน้ำเสียชุมชนต่อไป
วิธีการทำความสะอาดและดูแลรักษาถังดักไขมัน
1.ควรกวาดเศษอาหารให้หมดก่อนจะนำภาชนะลงสู่ซิงค์ล้าง เพราะเป็นการช่วยให้ทำความสะอาดตะแกรงดักเศษอาหารง่ายขึ้น
2.นำตะแกรงออกมาทำความสะอาดบ่อยครั้ง อย่างน้อย 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ จะช่วยให้ไขมันที่เกาะอยู่ในเศษอาหารเป็นส่วนที่ทำให้ถังดักไขมันมีคราบไขมัน ทำความสะอาดยากและมีกลิ่น ก็ลดน้อยตามลงไปด้วย
3.คัดแยกน้ำมันที่ไม่ใช้แล้วบรรจุใส่ภาชนะเพื่อนำไปกำจัด ไม่ควรเทน้ำมันลงซิงค์โดยตรง เพราะจะทำให้มีปริมาณไขมันมากเกินไปแล้วทำความสะอาดยาก
4.ควรเลือกขนาดของถังดักไขมันให้เหมาะสมกับ ขนาดของผู้อยู่อาศัย หรือ คำนวณจากโต๊ะอาหารและผู้ที่เข้ามารับประทานอาหาร ถ้าถังดักไขมันมีขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เศษอาหารและไขมันเต็มถังเร็ว ทำให้จำเป็นต้องตักเศษอาหารและล้างทำความสะอาดภายในถังดักไขมันบ่อยขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมรวมถึงราคาถังดักไขมันได้ที่  081-267-9634 ,  089-440-5311
หรือสามารถเยี่ยมชมเว็บไซท์เราได้ที่  WWW.ถังบำบัดน้ำ.com  หรือที่ Blog http://purewatertank.wordpress.com ,  http://purewatertank.bravejournal.com/  , http://purewatertank.xanga.com/weblog/
ถังบำบัดน้ำเสีย,ถังเก็บน้ำ,ถังดักไขมันใต้ซิงค์,ถังดักไขมันฝังใต้ดิน,จุลินทรีย์ในถังน้ำเสีย,ถังน้ำดี,ถังน้ำเสีย,ถังเก็บน้ำบนดิน,ถังเก็บน้ำใต้ดิน,ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส,ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส,ราคาถังบำบัดน้ำเสีย,ราคาถังเก็บน้ำ,ถังใส่น้ำ,ถังเก็บน้ำสแตนเลส,ถังน้ำพีอี

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คู่มือการติดตั้งและการใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย

คู่มือการติดตั้งและการใช้งานถังบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดน้ำเสีย เหมาะสมต่อการใช้งานสำหรับ สำนักงาน บ้านพัก โรงเรียน และสถานบริการต่าง ๆ  เพื่อให้น้ำทิ้งนั้นได้มาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือนำกลับมาใช้ใหม่ (ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่แผนกวิศวกรรม)

หลักการทำงานของ ถัง มีให้เลือก 2 แบบ คือ

1) แบบไม่เติมอากาศ (SEPTIC AND ANAEROBIC FILTER) แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการแยกตะกอน (SEPTIC)  และขั้นตอนการกรองแบบไร้อากาศ(ANAEROBIC FILTER) ซึ่งอาศัยกระบวนการย่อยสลายแบบ
ธรรมชาติบำบัด คือ ใช้แบคทีเรียชนิดไร้อากาศ(ANAEROBIC BACTERIA) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องใช้เครื่องเติมอากาศ และพลังงานไฟฟ้า

2)แบบเติมอากาศ(AERATION) ทำให้ถังมีประสิทธิภาพในการบำบัดได้สูงสุด โดยการใช้เครื่องเติมอากาศซึ่งออกซิเจนที่ได้จากเครื่องเติมอากาศ จะทำให้จุลินทรีย์ชนิดใช้อากาศ (AEROBIC BACTERIA) สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์นถังบำบัดได้ดียิ่งขึ้น จึงทำให้น้ำที่บำบัดออกมาได้ค่ามาตราฐานตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด


ตำแหน่งที่จะทำการติดตั้งถัง

โดยทั่วไปตำแหน่งของถังจะถูกออกแบบไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้วในการออกแบบอาคาร
หากยังไม่มีการออกแบบไว้ก่อน หรือต้องการติดตั้งถัง เพิ่มเติมจากเดิมที่มีอยู่ ให้พิจารณา
ดังต่อไปนี้
1)ควรติดตั้งภายนอกตัวอาคาร เพราะสามารถทำการติดตั้ง และดูแลรักษาได้ง่าย
2)ควรติดตั้งใกล้ห้องส้วม และท่อระบายน้ำสาธารณะเพื่อลดปัญหาการอุดตันในท่อ
3)หากติดตั้งในอาคารให้แยกโครงสร้างฐานรากของถังบำบัดออกจากฐานรากของอาคาร
4)ท่อเข้าออกสั่งได้มาตรฐานโรงงานและสั่งพิเศษ(ติดต่อฝ่ายขาย)

วิธีการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียใต้ดิน

  มีขั้นตอนตามลำดับต่อไปนี้

   ขุดหลุมขนาด กว้างXยาวXสูง ให้เหมาะสมกับขนาดถังฐานรากและระดับท่อเข้า-ออก
             
1.  (ดูแคตตาล็อคและตารางแต่ละรุ่น)อาจใช้เสาเข็มตามวิศวกรระบุ แล้วรองพื้นด้วยทรายและเทคอนกรีตเสริมเหล็กหรืออาจใช้ เพียงคอนกรีตหยาบ 1:3:5 หากสภาพดินรับแรงดี

2.  ยกถังวางลงในหลุม จัดระดับถังให้เหมาะสม ท่อเข้า-ออก จะต้องไม่กดลึกกว่าระดับพื้นดินเกินกว่า
0.50 ม.หากฝังถังลึกเกินไปถังจะเสียหายจากน้ำหนักดินที่กดทับได้ ใช้ลวดสลิงดึงรัดรอบถัง กันถัง
พลิกและถังลอยแล้วเติมน้ำให้เต็มถังแล้วจึงกลบด้วยทรายหยาบอัดแน่นรอบถังทุกชั้น ๆ ละ 50 ซม.
จากฐานรากถึงผิวพื้นด้านบนจนประกอบท่อเข้า-ออก ด้วยข้อต่ออ่อนและท่ออากาศให้
สูงเลยชั้นหลังคา,ดาดฟ้า

                3. ทำแนวกั้นชั่วคราวเป็นแนวเขตป้องกัน และทำป้ายระวังถังบำบัด โดยรอบถัง เพื่อป้องกันรถบด, หรือเครื่องจักรหนักเข้ามาเหยียบถังโดยรอบขอบถังอย่างน้อย 1.50 ม. ตลอดช่วงระยะเวลาก่อสร้าง

4. เทพื้น ค.ส.ล. ขนาดไม่เกิน 80X80X10 ซม.และฝังแหวนรองฝา ทิ้งไว้ให้ปูนแห้งแล้วจึงวางฝาปิด
เติมหัวเชื้อ เป็นเสร็จขั้นตอน

หมายเหตุให้ดูข้อควรระวังในการติดตั้งถัง

ข้อควรระวังในการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย

1. ถังบำบัดน้ำเสียจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าได้รับการติดตั้งอย่างถูกวิธีและปฎิบัติตามคำแนะนำ
จากบริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด
2. ระดับของท่อน้ำเสียที่เข้า และท่อน้ำเสียที่ออกจาก ถัง ควรอยู่สูงกว่าระดับท่อระบายน้ำสาธารณะ
3. การฝังท่อร้อย(Sleeve) ที่คานชั้นล่าง จะช่วยทำให้ระดับถังที่ติดตั้งไม่ลึกมากเกินไปและทำให้การระบายน้ำ
สะดวกขึ้น
4. ความลาดเอียงของท่อที่เข้า และท่อที่ออกจากถัง ไม่น้อยกว่า 1:100 หรือมีความสูงต่างกัน 1 เซนติเมตร
ต่อความยาว 1 เมตร หากท่อน้ำเสียยาวมาก(เกิน 4 เมตร)ให้เพิ่มช่องล้างท่อ(FCO) ที่ต้นท่อ หรือใช้บ่อพักทุกระยะ
8 เมตร
5. การยกถังบำบัด ให้ยกโดยใช้ลวดสลิงรองรับถัง โดยใช้รถยกที่ออกแบบไว้รับน้ำหนัก
โดยเฉพาะห้ามยกที่ท่อเข้า-ออกซึ่งอาจทำให้ท่อหักได้
6. ห้ามติดตั้งถังในระดับท่อเข้าถึงพื้นผิวดินความลึกเกินกว่า 50 ซม.
ไม่ควร ก่ออิฐฉาบปูนเป็นคอถถังเพราะมีน้ำหนักกดทับถังมาก กรณีมีความจำเป้นต้องติดตั้งลึกเกินกว่าที่กำหนด

7. ให้ใช้ทรายหยาบอัดแน่นด้วยคนและเครื่องตบอัดทรายรอบ ๆ ถังตั้งแต่ฐานรากจนถึงผิวดินชั้นบนสุด
(เติมน้ำให้เต็มถังและบดอัดทรายพรมน้ำสลับกันทุกระยะความสูง 50 ซม.จนเต็มถังพื้นผิวดินชั้นบน)
8. บริเวณที่ติดตั้งถังต้องทำแนวรั้วชั่วคราวเพื่อป้องกันไม่ให้มีรถยนต์,รถบรรทุก หรือวัสดุหนักเข้าไปเหยียบหรือ
กดทับบริเวณใกล้เคียงโดยเด็ดขาด ยกเว้นทีการทำโครงสร้างช่วยรับน้ำหนักไว้แล้ว
9. การต่อท่อระบายอากาศ(V2) ให้สูงเหนือชั้นหลังคาแยกต่างหากออกจากท่อระบายอากาศ(V1) ของอากาศ
จะช่วยลดปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. หากท่านมีข้อส่งสัยในการติดตั้งโปรดโทรแจ้งฝ่ายวิศวกรรมและบริการ บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด
ได้ตลอดเวลาทำการ

การดูแลรักษาหลังจากติดตั้งแล้วและเริ่มใช้งาน

1.กำจัดตะกอน โดยการจ้างรถบริการดูดส้วม อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้งทั้งช่องแยกตะกอน และช่องกรอง หรือ
  ช่องเติมอากาศ เพื่อให้ประสิทธิภาพการบำบัดดีขึ้น
2.ดูดตะกอนที่ก้นถังออกในปริมาณไม่เกิน 1/3 ของปริมาตรถัง(หากสูบมากเกินกำหนดถังอาจเสียหายได้)
   กรณีถังเติมอากาศ ให้สลับกันดูดจากช่องแยกตะกอน และช่องกรองเพื่อรักษาระดับน้ำ ระหว่าง
   ช่องยุบลงให้เท่า ๆ กัน ทำให้ถังบำบัดมีอายุการใช้งานยาวนาน
3.ให้เติมน้ำเต็มถังทันที(สังเกตท่อน้ำล้นจะไหลออกลงบ่อพัก)แล้วจึงปิดฝาถังให้เรียบร้อย
4.กรณีถังเติมอากาศ ให้ตรวจสอบการทำงานของเครื่องเติมอากาศและเครื่องสูบตะกอนว่าทำงานตามกำหนด
   หรือไม่(หากมีเสียงดังผิดปรกติ ลมไม่ออกหรือสูบน้ำไม่ขึ้นให้แจ้งฝ่ายบริการ)
5.ห้ามทิ้งเศษขยะ หรือ ของที่ไม่ย่อยสลายลงในถังบำบัดน้ำเสีย
6.การทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้งควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ควรล้างบ่อยและอย่า
   ใช้น้ำยา ฆ่าเชื้อโรคชนิดรุนแรงไหลลง เพราะจะทำให้ถังทำงานได้อย่างไม่มี
    ประสิทธิภาพ
7.กรณีถังดักไขมัน  ให้ถอดตะกร้าเทขยะ และล้างตะกร้าทุกวัน หรือเมื่อขยะเต็มหรืออุดตัน
   (ซึ่งอาจทำให้ถังบำบัดเสียหายได้ภายหลัง)
8.บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด มีการบริการเสริมหลังการขาย โปรดติดต่อฝ่ายบริการโดยตรง
9.ควรสูบตะกอนไปกำจัดปีละ 1-2 ครั้ง โดยสูบประมาณ ? ของถังแล้วเติมน้ำ หลังจากนั้นให้ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ในถังบำบัดเพื่อเพิ่มจุลินทรีย์แทนของเก่าที่สูบออกไปให้การบำบัดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หรือท่านสามารถเยี่ยมชมเว็บไซท์เราได้ที่ www.ถังบำบัดน้ำ.com หรือ http://purewatertank.wordpress.com










การเลือกขนาดถังเก็บน้ำและวิธีการติดตั้งถังเก็บน้ำ

คุณสมบัติของถังเก็บน้ำPURE
-ตัวถังได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 1379-2551
-วัสดุของถังเก็บน้ำ(Polyethlene)มีความคงทนแข็งแรง
-วัสดุมีความยืดหยุ่นสูง คืนรูปได้ในระดับหนึ่งเมื่อเกิดแรงกระทำต่อวัสดุ(ในน้ำหนักที่ไม่มากเกินไป)
-มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รับประกันคุณภาพวัสดุการใช้งาไม่น้อยกว่า 30 ปี
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกขนาดของถังเก็บน้ำ PURE
การเลือกขนาดของถังเก็บน้ำ ควรทราบจำนวนของผู้อยู่อาศัย ให้เหมาะสมกับปริมาตรของถังเก็บน้ำ ไม่ควรจะเลือกขนาดน้อยเกินไป หรือพอดีกับจำนวนคน เพราะควรจะเผื่อขนาดไว้ในกรณีที่น้ำหยุดไหล หรือ มีจำนวนผู้อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น จะทำให้การใช้น้ำไม่เพียงพอ
วิธีคำนวณการเลือกถังเก็บน้ำโดยปกติ
1.จำนวนผู้อยู่อาศัย คูณ ปริมาณการใช้น้ำ/คน/วัน
ตัวอย่าง ผู้อยู่อาศัยจำนวน 5 คน คูณ การใช้น้ำ 200 ลิตร /คน/วัน = 1000 ลิตร
2.การคำนวณเผื่อน้ำหยุดไหลครึ่งวัน
ตัวอย่าง ผู้อยู่อาศัยจำนวน 5 คน คูณ การใช้น้ำ 200 ลิตร /คน/วัน คูณ 1.5 = 1500 ลิตร
ข้อควรรู้เกี่ยวกับวิธีการติดตั้งถังเก็บน้ำฝังดินPURE
ขนาดของถังเก็บน้ำฝังดินที่มากกว่า 800 ลิตรขึ้นไป ควรมีการตอกเสาเข็ม และเทฐานราก เพราะปริมาตรของถังเก็บน้ำฝังดิน บวกกับน้ำที่บรรจุอยู่ในถังเก็บน้ำจะทำให้น้ำหนักของถังมีมาก อาจจะทำให้ดินเกิดการยุบหรือทรุดตัว ถังเก็บน้ำจึงไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม และจะมีทำให้ท่อเข้าออก เกิดการเคลื่อนที่อาจจะมีน้ำรั่วซึมออกมาได้ ดังนั้นควรมีผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งถังเก็บน้ำที่มีความชำนาญเฉพาะทาง รวมถึงขนาดของเสาเข็มที่ใช้ ควรเหมาะสมกันกับน้ำหนักของถังเมื่อรวมกับน้ำที่บรรจุอยู่ในถังเก็บน้ำแล้ว โดยให้วิศวกรที่มีความรู้เป็นผู้ออกแบบขนาดของเสาเข็ม หรือแจ้งฝ่ายขายและบริการของทาง บริษัท เปรมดิ์ปรีชา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ขายให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับราคาถังเก็บน้ำและถังบำบัดน้ำเสียได้ที่  081-267-9634 หรือ 089-440-5311 ได้ตลอดเวลาครับ หรือเข้าไปดูรายละเอียดของสินค้าได้ที่ www.ถังบำบัดน้ำ.com ครับ
หรือชมได้ที่ http://purewatertank.wordpress.com 

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556